วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ที่บังคับใช้เป็นกฏหมายระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แทนพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มิได้มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดระเบียบราชการบริหารที่ยังคงจัดโครงสร้างหลักของการจัดระเบียบการบริหารราชการเป็นส่วนกลาง - ส่วนภูมิภาค - ส่วนท้องถิ่น เช่นเดิมโครง สร้าง กระทรวง ทบวง กรม ยังคงสภาพเดิมการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการของระบบบริหารราชการ จึงยังไม่บังเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน
การจัดระเบียบบริหารราชการตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 จึงยัง ไม่สามารถตอบสนองภารกิจ และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาที่รัฐต้องเผชิญเพิ่ม มากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพรัฐบาลภายใต้การนำ ของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินความพยายามในการปรับปรุงแก้ไข โดยการแต่งตั้งคณะ กรรมการปฏิรูประบบและโครงสร้างของส่วนราชการ ซึ่งประกอบด้วยนักวิชาการและ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่เกี่ยวเนื่องกัน เพื่อพิจารณาดำเนินการศึกษาและเสนอแนะแนว ทางในการปฏิรูประบบราชการ ซึ่งคณะกรรมการได้เสนอให้มีการปรับปรุงโครงสร้างของระบบบริหารราชการแผ่นดิน โดยกำหนดความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างราชการ ส่วนกลาง-ส่วนภูมิภาค-ส่วนท้องถิ่นและเปิดโอกาสให้ประชาชนในท้องถิ่นตั้งหน่วย การปกครองท้องถิ่นของตนได้เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วนรวมทั้งได้มีการเสนอให้มีการ ปรับปรุงในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดระเบียบบริหารราชการในแต่ละส่วนด้วย
นอกจากนี้นักวิชาการหลายท่านได้ทำการศึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการ ปรับปรุงระบบราชการที่น่าสนใจ อาทิเช่น
กระมล ทองธรรมชาติ ศึกษาพบว่ามีปัญหาความซ้ำซ้อนกันภายในโครงสร้างของระบบบริหารราชการระหว่างกระทรวง แม้ภายในกระทรวงเดียวกันหรือกรมเดียว กันก็มีปัญหา (แม้ว่ารัชกาล ที่ 5 จะทรงปฏิบัติระบบราชการเพื่อขจัดความซ้ำซ้อนใน ด้านพื้นที่และหน้าที่)
ทั้งนี้ ถ้าจะทำการปฏิรูปต้องปฏิรูปที่โครงสร้างทั้งหมดทั้งโครงสร้างระหว่างกระทรวงโครงสร้างภายในกระทรวงและโครงสร้างภายในกรม
เช่นเดียวกับการศึกษาของวรเดช จันทรศร ที่ศึกษาพบว่านับแต่มีการปฏิรูประบบ ราชการในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. 2435 เป็นต้นมาระบบราชการยังไม่เคยมีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ทั้งระบบอีกเลย การเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหน่วยงาน (เพิ่มกรม/กอง) โดยที่ระบบราชการไทย นั้น มีแนวโน้มที่จะขยายตัวมากขึ้นเพื่อจะสนองตอบต่อผลประโยชน์ของตนเองส่วนหนึ่ง ในขณะเดียวกันนั้นก็เพื่อตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศควบคู่กันไปด้วย จากปี พ.ศ.2476 ซึ่งมีจำนวนกรม 45 กรมขยายเป็น 102กรม ในปี 2512 และมาก กว่า120 กรมในปี2534 และมีกองถึงกว่า1,300 กองนอกจากนี้การจัดตั้งกรม /กอง ขึ้นใหม่ มีลักษณะเป็นการตั้งขึ้นใหม่จากหน้าที่ซึ่งมีอยู่แล้วมากกว่าตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่ใหม่ซึ่งไม่เคยปฏิบัติมาก่อนแต่เป็นงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กรม/กระทรวงอื่นอยู่ แล้ว งานจึงซ้ำซ้อนกัน
ประเวศ วะศีได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาสำคัญของระบบราชการไทยว่ามีโครงสร้างที่เน้น การรวบรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางมากเกินไปทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วม ในการคิดในการดำเนินงานได้ รวมทั้งระบบราชการเน้นในเรื่องการควบคุมงานภายใน รูปของระเบียบต่าง ๆ มากกว่าหน้าที่ผลงาน จึงควรปรับปรุงโครงสร้างระบบราชการ เสียใหม่โดยลดอำนาจข้าราชการและคืนอำนาจตัดสินใจให้ประชาชน
อมรา รักษาสัตย์ และถวัลย์ วรเทพพุฒิพงษ์และคณะ ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ การปรับปรุงระบบของราชการ ด้านการจัดองค์การพบว่า การจัดองค์การราชการก่อให้เกิดปัญหาสำคัญคือโครงสร้างระบบราชการขาดความยืดหยุ่นไม่สามารถ รับภารกิจรัฐบาลในสังคมใหม่ได้โครงสร้างอำนาจการตัดสินใจมีลักษณะรวมอำนาจไว้ในส่วนกลาง กระทรวงขาดเอกภาพในการบริหารงาน ไม่สามารถผนึกกำลังของกรม เพื่อแก้ปัญหา หลักของชาติ
ข้อสรุปสำคัญจากการประเมินผลการพัฒนาประเทศ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติฉบับที่5 (พ.ศ.2525-2529)ที่กล่าวถึงปัญหาเกี่ยวกับการบริหารราชการ ที่นอกจากจะไม่สนับสนุนการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6(พ.ศ.2530 - 2534) จึงได้เริ่มให้ความสำคัญมากขึ้นต้องการปรับปรุงการ บริหารและทบทวนบทบาทรัฐในการพัฒนาประเทศ
ดังนั้น เมื่อมีการยึดอำนาจจากรัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน โดยคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.) เมื่อวันที่23 กุมภาพันธ์ 2534 จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขประกาศของคณะปฏิวัติในฉบับที่ 218โดยการเสนอพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพ.ศ.2534 ใช้บังคับแทนเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2534ซึ่งมีเจตนารมย์ที่จะแก้ไขปัญหาสำคัญๆของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เดิมใน 4 ประการ ที่สำคัญคือ
1) จำเป็นต้องกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วรนราชการต่าง ๆ ให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการปฏิบัติงานซ้ำซ้อนกันระหว่างส่วนราชการต่าง ๆ
2) เพื่อให้การบริหารงานในระดับกระทรวงมีเอกภาพสามารถดำเนิน การให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐมนตรีกำหนดได้
3) เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการมอบอำนาจในการปฏิบัติราชการแทนให้ครบถ้วนชัดเจน เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติราชการ
4) กำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการควบคุมดูแลการ ปฏิบัติราชการของข้าราชการซึ่งปฏิบัติราชการในเขตจังหวัดให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
จากเจตนารมณ์ ทั้ง 4 ประการจึงมีบทบัญญัติใน พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการ แผ่นดิน พ.ศ.2534หลายประการที่เปลี่ยนแปลงไปจากประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่218 ดังมีสาระสำคัญในแต่ละประเด็นดังนี้
1. การกำหนดอำนาจหน้าที่ของกรมจากปัญหาเกี่ยวกับการทำงานซ้ำซ้อนกันระหว่างต่างกระทรวงหรือภายในกระทรวงเดียวกันดังที่ได้มีผู้วิจัยและเสนอปัญหาไว้ อาทิเช่นมีหน่วยงานระดับกรมมากกว่ากรมที่ทำงานด้านการพัฒนาแหล่งน้ำหรืองาน ด้านการจัดการศึกษานอกโรงเรียนก็มีหน่วยงานระดับกรมมากกว่า กรม ที่ดูแลเรื่อง ดังกล่าว ดังนี้จึงมีบทบัญญัติไว้ดังนี้
"มาตรา 8 การจัดตั้งหรือยุบส่วนราชการ ตามมาตรา 7 ให้เป็นพระราช บัญญัติ......................................................................................................................... .....................................................................................................................................
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักเลขานุการรัฐมนตรีกรมหรือ ส่วนราชการ ที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกาและให้ระบุ อำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย"
"มาตรา 74 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการภายในสำนักเลขานุการ รัฐมนตรีและกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเทียบเท่ากับหรือ มีฐานะเป็นกรมใดยังมิได้ระบุอำนาจหน้าที่ไว้ตามมาตรา 8 วรรคสี่ ให้ดำเนินการ แก้ไขให้เสร็จสิ้นภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ"
2. การเสริมสร้างเอกภาพในการบริหารงานระดับกระทรวง
ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานระดับกระทรวง ขาดเอกภาพในการบริหารงาน ไม่สามารถผนึกกำลังของกรมเพื่อแก้ไขปัญหาหลักของชาติ จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไข บทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของกระทรวงและกรมให้เกิดการร่วมมือและผนึกกำลังกันโดยใช้แผนเป็นเครื่องมือทั้งในระดับกระทรวงและกรม ตามบทบัญญัติ ใน มาตรา 21มาตรา 23 มาตรา 32 ดังนี้
"มาตรา 21 กระทรวงนอกจากมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงและรัฐมนตรีช่วยว่า การกระทรวงให้มีปลัดกระทรวงคนหนึ่งมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
(1) รับผิดชอบควบคุมราชการประจำ ในกระทรวงกำนดแนวทางและแผน การปฏิบัติราชการของกระทรวงและลำดับความสำคัญของแผนการปฏิบัติราชการประจำปี ของส่วนราชการในกระทรวงให้เป็นไปตามนโยบาย ที่รัฐมนตรีกำหนดรวมทั้งกำกับเร่งรัดติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวง..................................."
"มาตรา 23 สำนักงานปรัดกระทรวงมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการประจำทั่วไปของกระทรวง และราชการที่คณะรัฐมนตรีมิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกรม ใดกรมหนึ่งในสังกัดกระทรวงโดยเฉพาะรวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการในกระทรวงให้เป็นไปตามนโยบายแนวทาง และแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง ด้วย"
"มาตรา 32 ...........................................................................................
กรมมีอธิบดีเป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรมให้เป็นไปตาม นโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวงและในกรณีที่มีกฏหมาย อื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การใช้อำนาจและการปฏิบัติ หน้าที่ตามกฏหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติ และแนวทางและแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงด้วย"
3. การปรับปรุงเรื่องการมอบอำนาจ
เนื่องจากหลักเกณฑ์วิธีการมอบอำนาจที่กำหนดไว้ตาม ปว.218 เดิมมีข้อ จำกัดเกี่ยวกับวิธีการมอบอำนาจบางกรณีที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ก่อนจัดทำเป็นคำสั่ง ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาและไม่สามารถมอบอำนาจช่วยต่อไปได้ จึงได้มีการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการมอบอำนาจ ใหม่โดยให้คำนึงถึงการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนความ รวดเร็วในการปฏิบัติราชการ และการกระจายความรับผิดชอบตามสภาพของตำแหน่งของผู้รับ มอบอำนาจตามบทบัญญัติที่กำหนดไว้ในมาตรา 38 มาตรา 39และมาตรา 40 ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญที่เปลี่ยนแปลงใหม่ได้แก่
1) การเปลี่ยนแปลงวิธีการมอบอำนาจโดยกำหนดให้การมอบอำนาจทุก กรณีให้ทำเป็นหนังสือทั้งนี้ผู้มอบอำนาจสามารถมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่ง ที่กำหนดไว้ในมาตรา38 โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากผู้ใดและไม่ต้องมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2) มีการเพิ่มตำแหน่งของผู้มอบอำนาจมากขึ้น โดยกำหนดเรื่องการมอบอำนาจของ ผู้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง (ในราชการบริหารส่วนกอง) และตำแหน่งหัวหน้า ส่วนราชการประจำจังหวัด นายอำเภอ และปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ (ในราชการบริหาร - ส่วนภูมิภาค ) นอกจากนี้ยังกำหนดตำแหน่งผู้รับมอบอำนาจ เพิ่มมากขึ้นด้วย
3) กำหนดให้มีการมอบอำนาจช่วงต่อไปได้ กรณีผู้ดำรงตำแหน่งใดได้มอบอำนาจให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถมอบอำนาจเรื่องนั้น ๆ ต่อไปยังรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดได้นอกจากนี้หากได้รับความเห็นชอบจาก ผู้มอบอำนาจข้างต้นแล้วก็สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่น ได้
4. การปรับปรุงอำนาจหน้าที่ผู้ว่าราชการจังหวัด
มีการปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดใหม่ตามมาตรา57 โดย กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาข้าราชการส่วนภูมิภาคใน จังหวัดโดยยกเว้นข้าราชการทหาร ตุลาการ อัยการ ครู ข้าราชการในมหาวิทยาลัยและ ข้าราชการของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและให้เพิ่มอำนาจหน้าที่ให้ผู้ว่าราช การจังหวัดเสนองบประมาณต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ตามโครงการหรือแผนพัฒนาจังหวัดและรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ
นอกจากนี้ยังได้มีการกำหนดให้องค์กรที่ทำหน้าที่ในการเป็นที่ปรึกษาแก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดและให้ความเห็นชอบการจัดแผนพัฒนาจังหวัดคือ"คณะกรรมการจังหวัด" (มาตรา53) ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานรองผู้ว่าราชการจังหวัด 1คนปลัดจังหวัดอัยการจังหวัดหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหัวหน้าส่วนราช การประจำจังหวัดซึ่งเป็นตัวแทนของกระทรวงต่างๆ กระทรวงละ 1 คนเป็นกรรมการจังหวัดโดยมีหัวหน้า สำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
หากพิจารณาถึงสาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลงตาม ปว.218 เป็น พ.ร.บ. ระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน 2534อาจสรุปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงใน4ประเด็น หลักตามเจตนารมย์หลักของพระราชบัญญัติฉบับนี้ เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียด ปลีกย่อยภายใต้โครงสร้างและกระบวนการบริหารงานดั้งเดิม ตาม แนวทางที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงวางรากฐานไว้นับแต่ เริ่มปฏิรูปการปกครองนั่นเอง

ศาลยุติธรรมไทย

ศาลยุติธรรมไทย
ศาลไทย เป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย อำนาจตุลาการนั้นเป็นสาขาหนึ่งของอำนาจอธิปไตยซึ่งเป็นของปวงชนชาวไทย และพระมหากษัตริย์ไทยในฐานะประมุขแห่งรัฐทรงใช้อำนาจตุลาการผ่านทางศาล ศาลจึงปฏิบัติการในพระปรมาภิไธย (อังกฤษ: In the Name of the King)
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน คือ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช 2550) มาตรา 197 ถึงมาตรา 228 กำหนดศาลไทยมีสี่ประเภท ดังต่อไปนี้
ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลยุติธรรม
ศาลปกครอง
ศาลทหาร
ประเทศไทยใช้กฎหมาย
ระบบซีวิลลอว์ (อังกฤษ: civil law) หรือระบบประมวลกฎหมาย ดังนั้น คำตัดสิน คำพิพากษา และคำตัดสินของศาลไทย จึงไม่ได้เป็นทั้งกฎหมายไทยและบ่อเกิดของกฎหมายไทย หากเป็นแต่การปรับใช้กฎหมายเท่านั้น
ศาลยุติธรรม (The Court of Justice) เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่น
ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย
ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค
ศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด ที่มีอยู่เพียงศาลเดียว
สำนักงานศาลยุติธรรม เป็นองค์กรอิสระที่ดูแลงานธุรการของศาลยุติธรรม มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีอิสระในการบริหารงานบุคคลการงบประมาณและการดำเนินการอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลฎีกา
การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม

รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)



รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)

รายชื่อคณะรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรี
*
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
17 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ประชาธิปัตย์
รองนายกรัฐมนตรี
1
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ประชาธิปัตย์
2(1)
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
11 มกราคม พ.ศ. 2553
ลาออก
ประชาธิปัตย์
2(2)
นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี
15 มกราคม พ.ศ. 2553
ประชาธิปัตย์
3
พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ชาติไทยพัฒนา
สำนักนายกรัฐมนตรี

4
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ประชาธิปัตย์

5(1)
นายวีระชัย วีระเมธีกุล
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ไปดำรงตำแหน่ง รมว.วิทยาศาสตร์ฯ
-

5(2)
นายองอาจ คล้ามไพบูลย์
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ประชาธิปัตย์
กระทรวงกลาโหม

6
พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
-
กระทรวงการคลัง

7
นายกรณ์ จาติกวณิช
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ประชาธิปัตย์

8
นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
รวมใจไทยชาติพัฒนา

9(1)
นายแพทย์พฤฒิชัย ดำรงรัตน์
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ปรับออกจากตำแหน่ง
เพื่อแผ่นดิน

9(2)
นายมั่น พัธโนทัย
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
มาตุภูมิ
กระทรวงการต่างประเทศ

10
นายกษิต ภิรมย์
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ประชาธิปัตย์
กระทรวงการท่องเที่ยวฯ

11
นายชุมพล ศิลปอาชา
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ชาติไทยพัฒนา
กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ

12 (1)
นายวิฑูรย์ นามบุตร
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ลาออก
ประชาธิปัตย์

12 (2)
นายอิสสระ สมชัย
10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
ประชาธิปัตย์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

13
นายธีระ วงศ์สมุทร
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ชาติไทยพัฒนา

14 (1)
นายชาติชาย พุคยาภรณ์
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ลาออก
ภูมิใจไทย

14 (2)
นายศุภชัย โพธิ์สุ
29 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
ภูมิใจไทย
กระทรวงคมนาคม

15
นายโสภณ ซารัมย์
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ภูมิใจไทย

16(1)
นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
14 มกราคม พ.ศ. 2553
ลาออก
ภูมิใจไทย

16(2)
นายสุชาติ โชคชัยวัฒนากร
15 มกราคม พ.ศ. 2553
ภูมิใจไทย

17
นายเกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ชาติไทยพัฒนา
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ

18
นายสุวิทย์ คุณกิตติ
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
กิจสังคม
กระทรวงไอซีที

19(1)
ร้อยตรีหญิง ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ปรับออกจาตำแหน่ง
เพื่อแผ่นดิน

19(2)
นายจุติ ไกรฤกษ์
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ประชาธิปัตย์
กระทรวงพลังงาน

20
นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
รวมใจไทยชาติพัฒนา
กระทรวงพาณิชย์

21
นางพรทิวา นาคาศัย
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ภูมิใจไทย

22
นายอลงกรณ์ พลบุตร
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ประชาธิปัตย์
กระทรวงมหาดไทย

23
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ภูมิใจไทย

24
นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ภูมิใจไทย

25
นายถาวร เสนเนียม
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ประชาธิปัตย์
กระทรวงยุติธรรม

26
นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ประชาธิปัตย์
กระทรวงแรงงาน

27(1)
นายไพฑูรย์ แก้วทอง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ปรับออกจากตำแหน่ง
ประชาธิปัตย์

27(2)
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ประชาธิปัตย์
กระทรวงวัฒนธรรม

28(1)
นายธีระ สลักเพชร
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ปรับออกจากตำแหน่ง
ประชาธิปัตย์

28(2)
นายนิพิฏ อินทรสมบัติ
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ประชาธิปัตย์
กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ

29(1)
คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ปรับออกจากตำแหน่ง
ประชาธิปัตย์

29(2)
นายวีระชัย วีระเมธีกุล
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
-
กระทรวงอุตสาหกรรม

30(1)
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ปรับออกจาตำแหน่ง
เพื่อแผ่นดิน

30(2)
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ประชาธิปัตย์
กระทรวงศึกษาธิการ

31(1)
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
15 มกราคม พ.ศ. 2553
ไปดำรงตำแหน่ง รมว.สาธารณสุข
ประชาธิปัตย์

31(2)
นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ
15 มกราคม พ.ศ. 2553
ประชาธิปัตย์

32(1)
นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ไปดำรงตำแหน่ง รมว.อุตสาหกรรม
ประชาธิปัตย์

32(2)
นายไชยยศ จิรเมธากร
6 มิถุนายน พ.ศ. 2553
เพื่อแผ่นดิน

33
นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
เพื่อแผ่นดิน
กระทรวงสาธารณสุข

34(1)
นายวิทยา แก้วภราดัย
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
30 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ลาออก
ประชาธิปัตย์

34(2)
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
15 มกราคม พ.ศ. 2553
ประชาธิปัตย์

35(1)
นายมานิต นพอมรบดี
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551
10 มกราคม พ.ศ. 2553
ลาออก
ภูมิใจไทย

35(2)
นางพรรณสิริ กุลนาถศิริ
15 มกราคม พ.ศ. 2553
ภูมิใจไทย